ขอแสดงความยินดีกับคุณครูโรงเรียนตากพิทยาคมที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Teacher Idol ภาคเหนือ
โรงเรียนตากพิทยาคมขอแสดงความยินดีกับนางสาวสายพาน ทับนิล และนายวัชระ วงษ์ดี ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Teacher Idol ภาคเหนือ จากการเป็นครูที่ปรึกษานักเรียนส่งผลงานชื่อ “เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อช่วยในการฟักไข่ของไก่แจ้” โดยเด็กหญิงสุปวีณ์ ทับนิล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 และนางสาวลักษิกา บุญทอ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อคุณครู (depa Teacher Boost Camp) สนับสนุนโดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Coding Thailand
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เป็นผลงานที่สร้างสรรค์บูรณาการ STEM ร่วมกับไครคอนโทรลเลอร์และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์พื้นที่แก้ปัญหาชีวิต เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบริบทการเรียนการสอนในพื้นที่การศึกษาของพื้นที่นั้นๆ สามารถนำผลงานไปเป็นต้นแบบ หรือเผยแพร่ให้สถานศึกษาอื่นๆ เพื่อสร้างเป็น ecosystem ได้ ซึ่งรางวัลนี้ประกาศผลเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่เฟซบุ๊ก CodingThailand by depa ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/codingthailandbydepa/posts/3035250870022179
ขอขอบพระคุณ คุณปณต จิตการุณและทีมงานเป็นอย่างสูง ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้ความรู้ คำแนะนำ สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคณะครูและนักเรียนที่เกี่ยวข้องจนสามารถสร้างชิ้นงานได้ประสบความสำเร็จในครั้งนี้
เชิญชวนทุกท่านเข้ารับชมคลิปวิดีโอ VDO โครงงานดังกล่าวชนิด mp4 ที่ลิงก์นี้ :
https://www.youtube.com/watch?v=fq1dl0qh6q0
เชิญชวนทุกท่านเข้ารับชมผลงานนำเสนอโครงงานดังกล่าวที่ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ชนิด pdf นี้ :
Project-of-Takpittayakhom-School-was-selected-from-depa-Teacher-Boost-Camp(North).pdf
ที่มาของไฟล์นำเสนอโครงงานฯ : https://www.tps.ac.th/images/attachment_content/Project-of-Takpittayakhom-School-was-selected-from-depa-Teacher-Boost-Camp(North).pdf
ข้อมูลผู้สนับสนุน ให้ความรู้และคำแนะนำในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ชิ้นงานต่างๆ
ขอขอบพระคุณ คุณปณต จิตการุณและทีมงานเป็นอย่างสูง ที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคณะครูและนักเรียนที่เกี่ยวข้องจนสามารถสร้างชิ้นงานได้ประสบความสำเร็จในครั้งนี้
ดาวน์โหลดไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้ : สำหรับใช้สอนในโครงงานควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อช่วยฟักไข่ไก่แจ้และใช้สอนในหน่วยที่ 2 เรื่องการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อพัฒนาโครงงาน วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4/1 – ม.4/11 ที่ไฟล์นี้
Learning-Management-Plan-of-Takpittayakhom-School-Project-in-The-depa-Teacher-Boost-Camp(North).pdf
ที่มาของไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว : https://www.tps.ac.th/images/attachment_content/Learning-Management-Plan-of-Takpittayakhom-School-Project-in-The-depa-Teacher-Boost-Camp(North).pdf
ที่มาของเฟซบุ๊กงานโรงเรียนตากพิทยาคม :Takpittayakhom School ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/tpstakpittayakhomschool
ที่มาของเฟซบุ๊กงานประชาสัมพันธ์ โรงเรียนตากพิทยาคม ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/profile.php?id=100008696617110
ที่มาของเฟซบุ๊กโรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก คลิกที่นี่
รูปภาพประกอบข่าวกิจกรรมของโรงเรียนดังกล่าว
ขอแสดงความยินดีกับคุณครูโรงเรียนตากพิทยาคม ซึ่งได้รับการคัดเลือกครูไอดอล 1 ใน 3 ในโครงการ depa Teacher Boost Camp ประจำภาคเหนือ
ที่มาของเฟซบุ๊ก CodingThailand by depa : https://www.facebook.com/codingthailandbydepa/posts/3045920168955249
ที่มาของข่าวกิจกรรม เว็บไซต์ รร.ตากพิทยาคม https://www.tps.ac.th/th/grouppage/4/detail-news/N0000272.html
ขอแสดงความยินดีกับคุณครูโรงเรียนตากพิทยาคม ซึ่งได้รับการคัดเลือกครูไอดอล 1 ใน 3 ในโครงการ depa Teacher Boost Camp ประจำภาคเหนือ
ที่มาของเฟซบุ๊ก CodingThailand by depa : https://www.facebook.com/codingthailandbydepa/posts/3045920168955249
ที่มาของข่าวกิจกรรม เว็บไซต์ รร.ตากพิทยาคม https://www.tps.ac.th/th/grouppage/4/detail-news/N0000272.html
-----------------------------------------------------------
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 โรงเรียนตากพิทยาคม อ.เมืองตาก จ.ตาก
ตามหลักสูตรแกนกลาง สพฐ. ปี พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุงปี 2560 ใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียนซึ่งจัดทำโดย สสวท. และบริษัท อจท.
(ฉบับปรับปรุงวันที่ 6 ต.ค. 2564 เพื่อใช้สอนออนไลน์ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อพัฒนาโครงงาน วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4/1 – ม.4/11 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และใช้สอนในโครงงานควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อช่วยฟักไข่ไก่แจ้ ซึ่งจัดทำโดยโครงงานโดย ด.ญ.สุปวีณ์ ทับนิล ม.2/1 น.ส. ลักษิกา บุญทอ ม.5/4
ครูที่ปรึกษา ครูสายพาน ทับนิล นายวัชระ วงษ์ดี
โรงเรียนตากพิทยาคม อ.เมืองตาก จ.ตาก สพม.ตาก
ในโครงการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อคุณครู (depa Teacher Boost Camp) สนับสนุนโดย สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Coding Thailand)
ที่มาของเฟซบุ๊ก CodingThailand by depa : https://www.facebook.com/codingthailandbydepa/posts/3045920168955249
ที่มาของข่าวกิจกรรม เว็บไซต์ รร.ตากพิทยาคม
https://www.tps.ac.th/th/grouppage/4/detail-news/N0000272.html
รายวิชา วิทยาการคำนวณ รหัสวิชา ว30181 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ตากพิทยาคม จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 14 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง โครงงานพัฒนาโปรแกรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อพัฒนาโครงงาน ครูผู้สอน นายวัชระ วงษ์ดี
1.1 มาตรฐานการเรียนรู้
ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
1.2 ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้
ว 4.2 ม.4/1 ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงานที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
แนวคิดเชิงคำนวณเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาโครงงานในชีวิตประจำวัน เช่น โครงงานพัฒนาโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาผ่านแท็บเล็ต เป็นต้น
3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
3.1.1 อธิบายการประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้
3.1.2 อธิบายขั้นตอนการพัฒนาโครงงานในกรณีศึกษาต่างๆ ได้
3.1.3 ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงานได้
3.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P)
3.2.1 อภิปรายการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงงานได้
3.3 ด้านคุณลักษณะ (A)
3.3.1 เห็นประโยชน์ของการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน
- การพัฒนาโครงงาน
- การนำแนวคิดเชิงคำนวณไปพัฒนาโครงงานที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการพลังงาน อาหาร การเกษตร การตลาด การค้าขาย การทำธุรกรรม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- ตัวอย่างโครงงาน เช่น ระบบดูแลสุขภาพ ระบบอัตโนมัติควบคุมการปลูกพืช ระบบจัดเส้นทาง การขนส่งผลผลิต ระบบแนะนำการใช้งานห้องสมุดที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้และเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
5.1 ขั้นนำ (กิจกรรมการพัฒนาโครงงานบูรณาการ Scratch กับบอร์ดสมองกล KidBright จำนวน 2 คาบ 80 นาที)
5.1.1 ครูกับนักเรียนร่วมกันทบทวนการเขียนโปรแกรมแม่สูตรและการหาผลคูณด้วยภาษาไพทอน จากนั้นร่วมกันฝึกทำใบงานที่ 4.3 การเขียนโปรแกรมเกมส์หาผลคูณระหว่างเลขห้องกับเลขที่ของนักเรียน โดยใช้โปรแกรม Scratch โดยแสดงชื่อ – นามสกุล ชั้น เลขที่, เลขหน้า=ห้อง 3,เลขหลัง=เลขที่ของนักเรียนเอง, ผลคูณ=เลขหน้าคูณด้วยเลขหลัง เช่น นายวัชระ วงษ์ดี ม.4/3 เลขที่ 50, เลขหน้า=3,เลขหลัง=50,ผลคูณ=150 ดูคำสั่งของใบงานที่ 4.3 ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/groups/473563890418763/announcements สำหรับการส่งงานตามห้องและกลุ่มของนักเรียนเองที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/groups/473563890418763
5.1.2 ครูเปิดคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับระบบรดน้ำอัตโนมัติ (สำหรับสวนที่บ้าน) สุ่มคลิปความยาวไม่เกิน 2 นาที ที่ลิงก์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=5I0-nOUYNHM หลังจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบรดน้ำอัตโนมัติ
5.1.3 นักเรียนฝึกทำใบงานที่ 4.4 ฝึกทำโครงงานรดน้ำต้นไม้พร้อมนับจำนวนวินาทีเมื่อความชื้นต่ำกว่า 1 หน่วยด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright โดยนำข้อมูลจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) บทที่ 2 การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี จัดทำโดย สสวท. หน้าที่ 38 มาบูรณาการว่าระบบดังกล่าวมีการทำงานอย่างไร สามารถระบุข้อมูลเข้าและข้อมูลออกอะไรบ้าง ที่ประกาศเฟซบุ๊กกลุ่มชื่อ "ต.พ. 2564 ม.4 วิทยาการคำนวณ" ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/groups/473563890418763/posts/531829401258878
5.1.4 นักเรียนส่งงานโดยตอบกลับในเฟซบุ๊กกลุ่มชื่อ "ต.พ. 2564 ม.4 วิทยาการคำนวณ" โดยโพสต์ตามห้องและรหัสกลุ่มของนักเรียนเองที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/groups/473563890418763
5.1.5 ครูเสนอแนะความรู้เพิ่มเติมก่อนจองหัวข้อและจัดทำโครงงานเกี่ยวกับ STEM, Ecosystem VS Ecosystem business model and IoT or Internet of Things เพื่อให้โครงงานที่นักเรียนจะทำนั้นมีความสมบูรณ์น่าสนใจรวมทั้งเชื่อมโยงปัจจัยระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาชีวิต เศรษฐกิจ สังคม หรือ/และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design : SAD)
5.2 ขั้นสอน (ประมาณ 3 คาบหรือ 120 นาที)
5.2.1 นักเรียนจองหัวข้อโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบุชื่อโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงงานได้แก่ KidBright, Scratch หรือ Python เป็นต้น พร้อมทั้งครูพิจารณาอนุมัติหัวข้อโครงานที่ลิงก์นี้ https://docs.google.com/document/d/1V3pfrOesXB4rWISwgbrJazkxZ9z9bsE8BQx-A-kHGyw/edit?usp=sharing
5.2.2 นักเรียนที่ผ่านการอนุมัติหัวข้อโครงงานแล้ว ครูจะส่งไฟล์ใบงานที่ 4.5 ปฏิบัติการตามขั้นตอนการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดทำเอกสารโครงงานตามรูปแบบการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งแบบฟอร์มการทำโครงงานแยกตามห้องและตามรหัสกลุ่ม หลังจากนั้นนักเรียนเริ่มปฏิบัติการตามใบงานดังกล่าว ตัวอย่างแบบฟอร์มใบงานที่ 4.5 ที่ลิงก์นี้ https://docs.google.com/document/d/16lEVJohIpsPVIuWFmIJXxD-OGLtiYqaUGuoNeZ3yJqA/edit?usp=sharing
5.2.3 นักเรียนจัดทำคู่มือการใช้งานหรือนำเสนอโครงงานทางด้านเทคโนโลยีโดยจัดทำเป็นคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาที แล้วส่งไฟล์ในหัวข้อขั้นตอนการติดตั้งระบบ ที่หัวข้อย่อยคู่มือการใช้งาน ของใบงาน 4.5 ดังกล่าว
-----------------------
5.3 ขั้นสรุป (ประมาณ 1 คาบหรือ 40 นาที)
5.3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลงานที่ส่งทางเฟซบุ๊กกลุ่มชื่อ "ต.พ. 2564 ม.4 วิทยาการคำนวณ" ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/groups/473563890418763 และตรวจสอบผลการวัดและประเมินผลในแต่ละกลุ่มของหัวข้อโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ลิงก์นี้ https://docs.google.com/document/d/1V3pfrOesXB4rWISwgbrJazkxZ9z9bsE8BQx-A-kHGyw/edit?usp=sharing
========================
ข้อมูลสื่อการสอนเพิ่มเติม : การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับวิทยากรแกนนำ (Coding Core Trainer : CCT) ปี 2564 โดย สพฐ. ร่วมกับ สสวท. จัดทำโดยครูวัชระ วงษ์ดี อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ที่มา : https://www.tps.ac.th/th/grouppage/4/detail-news/N0000104.html
========================